การตรวจ NIPT คืออะไร และจำเป็นหรือไม่

การตรวจ NIPT หรือที่บางคนรู้จักกันในชื่อ NIPS คือวิธีในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของลูกน้องภายในครรภ์ ถือว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะการพัฒนา และการวิจัยการใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และแม่นยำ เพราะการตรวจ NIPT จะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูงมากกว่า 99% เลยทีเดียว โดยที่วิธีดังกล่าวก็เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง ไม่ส่งผลอันตราย หรือความเสี่ยงต่างๆ ต่อแม่ และลูก อย่างแน่นอน ซึ่งการการตรวจ NIPT จะมีวิธีตรวจหลักๆ ก็คือ เจาะเลือดคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่แขน โดยที่จะทำการใช้เลือดประมาณ 10cc ก่อนที่จะนำเอาไปตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมของลูก โดยที่วิธีดังกล่าวจะสามารถตรวจได้จาก Cell-Free DNA ของลูกที่ปนอยู่ในเลือดของแม่ได้นั่นเอง ถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีที่ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด

การตรวจ NIPT บอกอะไรได้บ้าง

สำหรับการตรวจ NIPT จะสามารถตรวจโคโมโซมภายใน เพื่อตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ ของทารกภายในครรภ์ ที่สามารถเจาะจงได้ทุกคู่ในร่างกาย ตั้งแต่คู่ที่ 1 – 23 แต่ถึงอย่างไรก็ตามการตรวจ NIPT ในเชิงการแพทย์มักจะมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่มหลักๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้

  • ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือคู่ที่ 21
  • ภาวะเอดเวิร์ดซินโดรม หรือคู่ที่ 18
  • พาทันซินโดรม หรือคู่ที่ 13

ซึ่งการตรวจ NIPT ยังสามารถระบุความชัดจนของเพศทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งการที่จะตรวจเพื่อตรวจสอบเพศคุณแม่จะต้องมีอายุครรภ์ที่มากกว่า 10 สัปดาห์ขึ้นไป ก็จะทำให้ได้รับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง

ทุกคนควรเข้ารับการตรวจ NIPT หรือไม่

การตรวจเพื่อคัดกรองดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติในด้านต่างๆ ด้วยการตรวจ NIPT ไม่ได้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่เป็นข้อบังคับว่าให้คุณแม่ทุกคนต้องเข้ารับการตรวจ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแม่ และครอบครัวด้วยตัวเองว่าต้องการที่จะตรวจหรือไม่ แต่โดยปกติแล้วคุณหมอมักจะให้คำแนะนำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม เพราะการตรวจจะสามารถบ่งบอกถึงสถานการณ์ของลูกได้ล่วงหน้า เพราะการคาดการณ์สถาการณ์ต่างๆ ได้ทั้งหมดเกี่ยวกับลูก เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรทำ เพื่อที่จะสามารถการวางแผนการตั้งครรภ์ต่อไปให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งการตรวจ NIPT ก็จะมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะฉะนั้นควรมีความพร้อม และวางแผนขั้นตอนในการดูแล ตรวจ และรักษาให้ดีที่สุด

แต่ถ้าหากสำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ไม่ต้องการตรวจ NIPT ก็สามารถเลือกใช้วิธีอื่นๆ ที่มีราคาถูกลงมาได้ อย่างเช่น การตรวจ Quad Marker Test แต่วิธีดังกล่าวจะมีความแม่นยำลดลงมาจาก 99% เหลือเพียง 81% แต่ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่ให้ความแม่นยำที่สูงอยู่เช่นเดียวกัน และรวมไปถึงการตรวจเกี่ยวกับอาการดาวน์ซินโดรมอย่างเดียว ซึ่งจะไม่สามารถระบุเพศของทารก และความผิดปกติอื่นๆ ได้นั่นเอง ซึ่งการการตรวจ NIPT สามารถตรวจได้ตั้งแต่มีอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่ควรเกิน 16 สัปดาห์ เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ และถูกต้องมากที่สุด