มะเร็งปอด เกิดจากเซลล์ภายในปอดมีการแบ่งตัวแบบผิดปกติ ทำให้เซลล์กลายพันธุ์จนพัฒนาเป็นก้อนเนื้อบริเวณปอดส่งผลกระบวนการการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ผิดปกติ โดยมะเร็งชนิดนี้เป็น 1 ใน 5 ของโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย และทำให้เสียเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง หรือสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งที่ปอดก็ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุดโดยอาการมีดังนี้
อาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็น มะเร็งปอด
- มีอาการไอแห้ง ไอเรื้อรังติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
- ไอออกมาเป็นเลือด หรือมีเลือดปนกับเสมหะ
- เวลาหายใจแล้วรู้สึกเจ็บหน้าอก
- มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
- หายใจแรงมีเสียงครืดคราด หรือมีเสียงดังผิดปกติ
- เสียงแหบ หรือเสียงเปลี่ยนไป
สิ่งที่ทำให้เสี่ยงเป็น มะเร็งปอด
หลายคนคิดว่าการเกิดมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมีอีกหลายสาเหตุที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน
การอยู่ในบริเวณที่มีสารเคมี – ในชีวิตประจำวันของเราเผชิญกับสารกันมันตรังสีแทบจะทุกแห่ง ซึ่งไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่สามารถรู้ได้ว่ามันลอยอยู่ในอากาศรอบตัวเรา เช่น แร่ในหิน ในท่อระบายน้ำ และหม้อไอน้ำ
เกิดพันธุกรรม – หากคนในครอบครัวมีประวัติเคยป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกันถึงแม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม
การสูบดมควันบุหรี่มือ 2 – การอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่ทำให้เราได้ควันบุหรี่เข้าเต็ม ๆ ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงได้
เกิดจากฝุ่นควัน – ฝุ่น P.M 2.5 ที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง รวมไปถึงจากท่อไอเสียเครื่องยนต์ เมื่อปะปนในอากาศแล้วสูดเข้าไปในปอดก็สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ปอดได้
วิธีป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจาก มะเร็งปอด
- เลิกสูบบุหรี่ และไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีการสูบหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีฝุ่นควัน หรือมลพิษ หากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่ ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินซี และอี
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ
- เข้ารับการตรวจปอดด้วยวิธี CT Low Dose ซึ่งมีความละเอียดสูงหากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้ทำการรักษาได้ทันเวลา
ดังนั้นหากพบว่ามีอาการอย่างที่กล่าวไปหรือสงสัยว่าเป็น มะเร็งปอด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำสำหรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชีวิตประจำวัน อีกทั้งหากตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้นก็จะสามารถรักษาได้