ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการบริจาคโลหิต

โลหิต หรือเลือด เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับการใช้ในการรักษาผู้ป่วย เพราะเป็นสิ่งที่สามารถทดแทนได้จากบุคคล ต่อบุคคลเพียงเท่านั้น เพราะในปัจจุบันยังไม่สามารถคิดค้นสิ่งไหนที่จะสามารถนำมาใช้ทดแทนโลหิต หรือเลือด ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดรับบริจาคโลหิตจากบุคคลทั่วไป เพื่อที่จะได้นำเอาโลหิตเหล่านี้มาใช้สำหรับในการช่วยชีวิตผู้ป่วย

ซึ่งการบริจาคโลหิต จะเป็นการเจาะโลหิตออกมาในปริมาณ 450 มิลลิลิตร ซึ่งจำนวนเลือกปริมาณดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ที่มาบริจาค เนื่องจากร่างกายจะสามารถสร้างเม็ดโลหิต และส่วนประกอบของโลหิตมาทดแทนในส่วนที่เสียหายไปได้ ซึ่งโลหิตที่ได้จากการบริจาคจะถูกนำไปปั้นแยกออกมาเป็น 3 ส่วนประกอบหลักๆ โดยที่ส่วนประกอบแต่ละส่วน จะมีหน้าที่ และความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป เช่น

เม็ดโลหิตแดง (Packed Red Cells) : ส่วนประกอบแรกจะทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย สามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด ตกเลือดจากการคลอดบุตร ผู้ป่วยที่มีภาวะซีด รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเม็ดโลหิตแดง เช่น ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เป็นชนิดโลหิตที่จะนำมาใช้ประโยชน์บ่อยที่สุด

พลาสมา (Plasma) : ส่วนประกอบถัดมาจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลือง ซึ่งจะมีส่วนประกอบไปด้วยโปรตีนต่างๆ มากมาย ได้แก่ อัลมูบิน โกลบูลิน อิมมูโนโกลลิน ปัจจัยการแข็งตัวของโลหิต เป็นต้น ส่วนประกอบดังกล่าวจะนำเอามาใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ขาดโปรตีน ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการขาดน้ำ ผู้ป่วยไฟไหม และผู้ป่วยที่โดนน้ำร้อนลวก

เกล็ดโลหิต (Platetet) : ส่วนประกอบชนิดสุดท้าย จะทำหน้าที่ในการช่วยทำให้โลหิตเกิดการแข็งตัว และช่วยอุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิต ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโลหิตไหลออกมาไม่หยุด เนื่องจากเกิดขึ้นมาจากเกิดอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด

คุณสมบัติเบื้องต้นในการบริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิต ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ทั้งต่อผู้ให้ และผู้รับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถเข้าไปบริจาคโลหิตได้ เพราะจำเป็นต้องมีเงื่อนไขต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้บริจาค และผู้รับบริจาค โดยที่คุณสมบัติเบื้องต้นในการบริจาคโลหิตที่ผู้เข้ารับบริจาคควรจะต้องรู้ดังต่อไปนี้

  • มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ถ้าหากบริจาคโลหิตโดยหน่วยโลหิตเคลื่อนที่ จะต้องมีน้ำหนักที่มากกว่า 53 กิโลกรัม
  • มีอายุระหว่าง 17 – 70 ปี กรณีที่ผู้ขอบริจาคมีอายุไม่ถึง 17 ปี แต่มีความประสงค์เข้ารับการบริจาคโลหิต จำเป็นจะต้องมีการเซ็นยินยอมจากผู้ปกครองเท่านั้น
  • มีสุขภาพ ร่างกาย ที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เป็นไข้ หวัด ไอ เจ็บคอ น้ำมูก เสมหะ หรือท้องเสีย
  • ไม่เป็นผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคเลือด โรคมะเร็ง หรือมีภาวะโลหิตออกง่าย และหยุดยาก เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ขอเข้าบริจาคนั่นเอง
  • ไม่เป็นโรค หรือภาหะของโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ไม่เป็นไข้มาลาเรียอย่างน้อย 3 ปี หรือเข้าไปอยู่ในเขตที่มาลาเรียชุกชุมในช่วงระหว่าง 1 ปีที่ผ่านมา
  • ไม่มีประวัติการผ่าตัดใหญ่มาก่อน รวมไปถึงการคลอด หรือแท้งบุตรใน 6 เดือน
  • สุภาพสตรีไม่ควรอยู่ระหว่างในช่วงที่กำลังมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือในนมบุตร
  • ไม่สัก ลบรอยสัก เจาะหู หรือเจาะส่วนต่างๆ ในร่างกายภายในระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา
  • ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
  • ไม่มีประวิติการใช้สารเสตติดทุกประเภท

การจัดหาโลหิต หรือการบริจาคโลหิต ในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสม รวมไปถึงขั้นตอน และข้อกำหนดที่เคร่งครัด ก็เพื่อความปลอดภัยทั้งของผู้เข้ารับบริจาค และผู้ขอรับบริจาค โดยการแบ่งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิต จะมีตัวเลขอยู่ที่ประมาณร้อยละ 23 และอีกร้อยละ 77 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้เข้ารับการบริจาคโลหิตเป็นจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีเลือกบางชนิด ที่ยังไม่มีเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์อยู่ดี