การบริจาคอวัยวะถือว่าเป็นการสร้างบุญครั้งให้กับชีวิต เพราะอวัยวะที่บริจาคก็จะถูกส่งต่อให้กับผู้รอรับบริจาค แต่อย่างไรก็ตามหลายคนยังมีความสงสัยเกี่ยวกับการอวัยยวะ เราจึงรวบรวมคำถามที่พบบ่อยมาฝากคะ
การบริจาคอวัยวะกับการบริจาคร่างกายต่างกันอย่างไร?
การบริจาคอวัยวะ คือการมอบอวัยวะ เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพ ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายเท่านั้น (ยกเว้น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ที่สามารถบริจาคได้ตอนยังมีชีวิตอยู่)
การบริจาคร่างกาย คือการอุทิศรางกายให้นักศึกษาแพทย์ใช้ศึกษา โดยเรียกกันว่า “อาจารย์ใหญ่” ผู้บริจาคเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ และมีอวัยวะครบ หลังจากการเสียชีวิต ต้องแจ้งให้ไปรับร่างภายใน 24 ชั่วโมง
ภาวะสมองตาย คืออะไร?
สมองตาย คือ ภาวะที่แกนสมองถูกทำลายจนสูญเสียการทำงานอย่างสิ้นเชิงและถาวร ไม่สามารถรักษาให้ฟื้นคืนชีพได้อีก ทางการแพทย์จึงถือว่าเสียชีวิตแล้ว โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองตายมาจากการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง หรือเส้นเลือดแตกในสมอง หรือเลือดออกในช่องสมอง ซึ่งต้องตรวจโดยแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และทำการตรวจ 2 ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
ศพที่ผ่านการบริจาคจะมีสภาพอย่างไร?
หลังผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับบริจาค แพทย์จะตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้เรียบร้อย แล้วมอบให้ญาติไปประกอบพิธีทางศาสนา
สามารถบริจาคให้ญาติได้หรือเปล่า?
ในกรณีที่ผู้บริจาคเสียชีวิตจากภาวะสมองตาย จะไม่สามารถระบุให้นำอวัยวะผู้เสียชีวิตไปให้ญาติหรือคนในครอบครัวได้ เพราะศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยจะจัดสรรอวัยวะให้กับผู้รอด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม ไม่มีการซื้อขาย
ทำไมบริจาคอวัยวะต้องแจ้งให้ญาติทราบ?
เพราะหากเสียชีวิตและสามารถบริจาคอวัยวะได้ ญาติต้องเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นผู้แจ้งให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยทราบว่าผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเสียชีวิต หากญาติิไม่ยินยอมจะถือว่าการบริจาคนั้นเป็นอันยกเลิก
อวัยวใที่สามารถบริจาคและนำไปปลูกถ่ายได้บ้าง?
อวัยวะที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ, ตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ลิ้นหัวใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กระดูก, เส้นเอ็น, กระจกตา
บริจาคอวัยวะได้ที่ไหนบ้าง?
ความจำนงบริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง, โรงพยาบาลประจำจังหวัด
อย่างไรก็ตามการบริจาคอวัยวะสามารถต่อลมหายใจให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้รับการบริจาคอีกเป็นจำนวนมาก